การกำหนดค่าให้กับตัวแปร

หลังจากประกาศตัวแปร ต้องกำหนดค่าให้กับตัวแปรได้ โดยใช้ตัวดำเนินการกำหนดค่า

รูปแบบ
ชื่อตัวแปร = ค่าที่กำหนด

การแยก Statement ไว้คนละบรรทัดด้วยเครื่องหมาย Underscore ( _ )

ถ้า Statement มีความยาวเกินไปและไม่สะดวกที่จะเขึยนทั้งหมดในบรรทัดเดียวกัน เราสามารถแยกไปเขียนไว้คนละบรรทัด ( เครื่องหมาย Underscore ( _ ) ไว้ ณ จุดที่ต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ (ก่อนและหลังเครื่องหมาย _ จะต้องเป็นช่องว่าง)

คำอธิบายโค้ด Single Quote ( ‘ )

VB จะกำหนดโดยใช้เครื่องหมาย Single Quote ( ‘ ) วางไว้ ณ จุดที่ต้องการแทรกคำอธิบาย จากนั้นก็เขียนข้อความต่อท้ายเครื่องหมาย

การแยก Statement ด้วยเครื่องหมาย Colon ( : )

VB ถือเอาจุดสิ้นสุดบรรทัดเป็นจุดสิ้นสุด Statement ทำให้เราต้องเขียนบรรทัดละ 1 Statement แต่ในบางกรณีถ้าเราต้องการเขียนหลายๆ Statement ไว้ในบรรทัดเดียวกัน ซึ่งอาจทำเพื่อการเปรียบเทียบ หรือเพื่อให้โค๊ดดูสั้นและกระชับมากขึ้น

Statement ของ VB

Statement คือ คำสั่งที่สมบูรณ์ที่โปรแกรมสามารถนำไปใช้ในการประมวลผลได้ โดยที่ Statement จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  • Single Statement คือ Statement ที่ประกอบด้วยคำสั่งเพียงคำสั่งเดียว
  • Compound Statement คือ Statement ที่ประกอบด้วยหลายๆ คำสั่ง หรือ Statement ย่อยๆ รวมกันนั้่นเอง

VB จะถือเอาจุดสิ้นสุดบรรทัดเป็นตัวแบ่งแต่ละ Statement ออกจากกัน

คำสงวนของ VB

Reserved Keywords หรือเรียกสั้นๆ ว่า คีย์เวิร์ด เป็นคำที่สงวนไว้ใช้เป็นคำสั่งใน Visual Basic ไม่สามารถนำคำเหล่านี้ไปกำหนดเป็นชื่อต่างๆ ในการเขียนโปรแกรมได้ เช่น

AddHandler
AddressOfAlias
And
AndAlso
As
Boolean
ByRef
Byte
ByVal
Call
Case
Catch
Cbool
CByte
CChar
CDate
CDec
CByte
CCharฯลฯ

ซีพียู (CPU) สมองคอมพิวเตอร์

ซีพียู (CPU) ย่อมาจากคำว่า Central Processing Unit หรือหน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่หลักในการคิด คำนวณ ประมวลผลข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณทางด้านตัวเลข บวก ลบ คูณ หาร หรือการคำนวณทางด้านตรรกะ (เชิงเปรียบเทียบข้อมูล) เมื่อคอมพิวเตอร์มีการรับข้อมูลใดๆ เข้ามาจัดเก็บหรือพักไว้ในหน่วยความจำแล้วก็จะถูกส่งต่อให้ซีพียูนั้นทำการประมวลผลก่อนเสมอ

ความเร็วซีพียู

ความเร็วของซีพียูถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกเหนือไปจากองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่ปี ซีพียูยังมีความเร็วอยู่ในระดับเมกะเฮิร์ตซ์ (MHz) แต่ปัจจุบันขึ้นมาอยู่ในระดับกิกะเฮิร์ตซ์ (GHz) แล้วแทบทั้งสิ้น ซึ่งถือว่าเร็วกว่าแต่ก่อนมาก

ค่าความเร็วของซีพียูนั้น คือค่าความถี่ของสัญญานาฬิกา ซึ่งเป็นตัวกำหนดความเร็วในการทำงานของซีพียู และคอยให้จังหวะในการทำงานแก่วงจรและอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน ความถี่ของสัญญานาฬิกานี้มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์ (Hertz) โดยบอกให้รู้ว่าภายในเวลา 1 วินาที มีสัญญาณนาฬิกานี้เกิดขึ้นจำนวนกี่ลูกคลื่น (Pulse) ดังนั้นความเร็ว 1 เมกะเฮิร์ตซ์ (MHz) ก็หมายถึง 1 ล้านเฮิร์ตซ์หรือ 1 ล้านลูกคลื่นต่อวินาที ส่วนความเร็ว 1 กิกะเฮิร์ตซ์ (GHz) หมายถึง 1 พันล้านเฮิร์ตหรือ 1 พันล้านลูกคลื่นต่อวินาที

สัญญานาฬิกาที่เกี่ยวข้องกับซีพียูจะมีอยู่ 2 ส่วนหลักๆ คือ

  • สัญญาณนาฬิกาภายในซีพียู เป็นสัญญาณที่ให้จังหวะในการทำงานภายในตัวซีพียูเอง ซึ่งความเร็วของซีพียูที่ผู้ผลิตบอกมาว่าเท่านั้นเท่านี้ MHz หรือ GHz ก็คือความเร็ว (หรือความถี่ ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องในทางเทคนิค) ของสัญญาณนาฬิกาภายในซีพียูนั่นเอง
  • สัญญานาฬิกาภายนอกซีพียู เป็นสัญญาณที่ให้จังหวะในการทำงานแก่บัส (Bus) ที่ซีพียูใช้รับส่งข้อมูลกับหน่วยความจำ คือเส้นทางลำเลียงข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ตั้งแต่ 2 อุปกรณ์ขึ้นไป โดยบัสที่เชื่อมต่อระหว่างซีพียูกับหน่วยความจำนี้จะเรียกว่า Front Side Bus (FSB)

ทั้งนี้ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาภายนอกซีพียู หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือความเร็ว Front Side Bus นั้น จะสัมพันธ์กับความเร็วของสัญญาณนาฬิกาภายในซีพียู ดังสมการนี้

ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาภายในซีพียู = ตัวคูณ x ความเร็วของ FSB 

เช่น ซีพียู Pentium 4 3.0 GHz ซึ่งทำงานที่ FSB ความเร็ว 200 MHz หรือความสุทธิ 800 MH(Quad-Pumped) และมีตัวคูณเป็น 15 จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาภายในซีพียูเท่ากับ 15 x 200 MHz = 3000 MHz หรือ 3.0 GHz เป็นต้น